หลังจากที่ประเทศไทย ต้องประสบกับภาวะสภาพอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ส่งผลให้มีอากาศร้อนจัด ขณะที่บางพื้นที่มีพายุฝน รวมถึงพายุลูกเห็บถล่ม โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศการติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศ เดือนเมษายน ถึง มิถุนายน 2567 ถึง 4 ปรากฏการณ์ด้วยกัน
หนึ่งในปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนเคยได้ยินบ่อย ๆ คือ "ลมมรสุม"หรือ Monsoon แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว "ลมมรสุม"คืออะไรกันแน่?
รู้จัก "ลมมรสุม"
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ให้ความรู้ไว้ว่า "ลมมรสุม" คือ ลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางกับการเปลี่ยนฤดู คือ ฤดูร้อน จะพัดในทิศทางหนึ่ง และจะพัดเปลี่ยนทิศทางในทางตรงกันข้ามในฤดูหนาว โดยคำว่า ลมมรสุม ถูกใช้ครั้งแรกในบริเวณทะเลอาหรับ ซึ่งพัดอยู่ในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะเวลา 6 เดือน และพัดอยู่ในทิศทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะเวลา 6 เดือน
"ลมมรสุม"เกิดจากอะไร?
กรมอุตุนิยมวิทยา อธิบายว่า สาเหตุหลักของการเกิดลมมรสุม เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำ
ในฤดูหนาว อุณหภูมิของพื้นดินภาคพื้นทวีป เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป
เมื่อถึงฤดูร้อน อุณหภูมิของพื้นดินภาคพื้นทวีป ร้อนกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม
"ลมมรสุม"ประเทศไทย เจอแบบไหนบ้าง?คำพูดจาก JOKER123
ประเทศไทย จะเจอกับลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุด 2 ประเภท ได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร
มรสุมนี้ จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
มรสุมนี้ มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจามรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ลอตเตอรี่ 2/5/67
ประกาศเตือนฉบับที่ 3 “พายุฤดูร้อน” 32 จังหวัดเตรียมรับมือ 3-4 พ.ค.
อาหารแก้อ่อนเพลีย-เหนื่อยง่าย เติมความสดชื่น จากการขาดวิตามินบางชนิด