ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับอำนาจของกรมราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ
นายกรัฐมนตรี สวน นิด้าโพล ไม่พบคนไม่ต้องการเงินดิจิทัลวอลเล็ต
นิด้าโพล เผย ประชาชน 35.19% ไม่ค่อยเชื่อมั่นข่าวการปฏิบัติงานของตำรวจ
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97.0%
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่ออำนาจของกรมราชทัณฑ์ในการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษให้กับนักโทษหลังจากศาลมีคำพิพากษา พบว่า ตัวอย่าง 40.00% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา 19.47% ระบุว่า เห็นด้วยมาก 19.16% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย 18.01% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และ 3.36% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษของกรมราชทัณฑ์ ควรมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมเป็นกรรมการ พบว่า ตัวอย่าง 41.69% ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา 24.58% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย 24.27% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย 8.70% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และ 0.76% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองหลัง “ทักษิณ ชินวัตร” ได้รับการพักโทษ พบว่า
- 50.38% ระบุว่า “ทักษิณ ชินวัตร” จะมีบทบาทในการให้คำปรึกษากับพรรคเพื่อไทย
- 28.93% ระบุว่า การชุมนุมต่อต้าน “ทักษิณ ชินวัตร” จะไม่สามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่
- 26.72% ระบุว่า คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะลดลงจากบทบาทที่มากขึ้นของ “ทักษิณ ชินวัตร”
- 21.68% ระบุว่า การชุมนุมต่อต้าน “ทักษิณ ชินวัตร” จะสามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่
- 19.69% ระบุว่า การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเข้มข้นขึ้น
- 19.24% ระบุว่า เร็ว ๆ นี้จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี
- 17.63% ระบุว่า “ทักษิณ ชินวัตร” จะไม่ยุ่งกับการเมืองอีกแล้ว
- 17.02% ระบุว่า นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จะอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ
- 14.43% ระบุว่า ประเทศไทยจะดูเหมือนมี “นายกรัฐมนตรี” สองคน
- 12.21% ระบุว่า ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองยังคงอยู่ที่ “ทำเนียบรัฐบาล”
- 11.15% ระบุว่า ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองจะย้ายไปอยู่ที่ “บ้านจันทร์ส่องหล้า”
- 11.07% ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนตัว “นายกรัฐมนตรี” จาก เศรษฐา ทวีสิน เป็น “อุ๊งอิ๊ง” แพทองธาร ชินวัตร
- 9.54% ระบุว่า คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะสูงขึ้นจากบทบาทที่มากขึ้นของ “ทักษิณ ชินวัตร”
- 6.11% ระบุว่า พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเป็นมิตรกันมากขึ้น
- 10.00% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง 8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ 18.55% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง 18.01% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ 33.44% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13.74% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และ 7.71% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง 48.09% เป็นเพศชาย และ 51.91% เป็นเพศหญิงคำพูดจาก สล็อตวอเลท
ตัวอย่าง 12.90% อายุ 18-25 ปี 17.79% อายุ 26-35 ปี 18.93% อายุ 36-45 ปี 26.64% อายุ 46-59 ปี และ 23.74% อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง 95.50% นับถือศาสนาพุทธ 3.43% นับถือศาสนาอิสลาม และ 1.07% นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง 36.41% สถานภาพโสด 60.84% สมรส และ 2.75% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง 24.66% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 36.49% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 8.47% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า 26.64% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ 3.74% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง 9.39% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 17.63% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน 22.67% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 12.06% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง 13.21% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 19.39% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ 5.6%5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง 22.75% ไม่มีรายได้ 18.55% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท 28.63% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 9.77% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท 4.12% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท 3.51% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ 12.67% ไม่ระบุรายได้