เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ( 23 มี.ค.) โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนกล่าวระหว่างการเดินทางบนรถไฟจากเมืองบัคมุตกลับไปยังกรุงเคียฟ หลังลงพื้นที่เยี่ยมทหารในแนวหน้า
สาระสำคัญที่ผู้นำยูเครนกล่าวส่งตรงไปถึงพันธมิตรชาติยุโรปโดยตรง ระบุว่า หากยุโรปยังคงลังเลและล่าช้าที่จะส่งอาวุธเข้าสนับสนุนยูเครน ก็จะยิ่งประวิงเวลาให้รัสเซียเพิ่มความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และยิ่งทำให้สงครามการต่อสู้ยึดเยื้อยาวนานขึ้นไปอีกหลายปีด้วย
เจ็บแต่จบ! สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีโอกาสสิ้นสุดในปีนี้?
“ปูติน” เคยให้คำมั่น จะไม่พยายามสังหาร “เซเลนสกี” คำพูดจาก สล็อตวอเลท
นอกจากนั้นยังแสดงความคิดเห็นว่า มาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ก็ควรที่จะขยายให้ครอบคลุมหลายภาคส่วนเพื่อกดดันรัสเซียมากกว่านี้เช่นกัน
ในประเด็นอาวุธ เมื่อวันก่อนหน้า นอร์เวย์เพิ่งจะส่งรถถังเลพเพิร์ด 2 จำนวนแปดคันเข้าไปในกรุงเคียฟ รถถังเหล่านี้มาตามคำสัญญาที่ทางนอร์เวย์ระบุไว้ตั้งแต่เดือนมกราคมว่าจะ ช่วยสนับสนุนยุทโธปกรณ์ของยูเครน
และ สโลวาเกียได้ส่งเครื่องบิน MiG-29 จำนวนสี่ลำให้กับยูเครนแล้ว นอกจากนั้นทางสโลวาเกียยังมีแผนที่จะส่งเครื่องบินเจ็ทอีก 13 ลำให้เพิ่มในสัปดาห์หน้า นับเป็นความช่วยเหลือทางการทหารล่าสุดจากชาติพันธมิตรตะวันตก นอกจากเครื่องบินแล้วทางสหภาพยุโรปประกาศว่า เตรียมที่จะจัดหากระสุนปืนใหญ่จำนวน 1 ล้านนัดภายในปีหน้าด้วยเช่นกัน
อีกเสียงจากยูเครนมาจาก อันเดรีย คอสติน อัยการสูงสุดของยูเครน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยส์เตอร์ระหว่างการเดินทางเยือนกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า ยูเครนสนับสนุนเต็มที่ในการตั้งศาลพิเศษขึ้นเพื่อพิจารณาอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ นายทหารระดับสูง ตลอดจนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แม้ว่ายูเครนจะไม่ได้เป็นชาติสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ICC ก็ตาม
ความเคลื่อนไหวล่าสุดต่อความพยายามดำเนินคดีผู้นำรัสเซียในข้อหาอาชญากรรมสงครามเกิดขึ้นหลังเมื่อวานนี้ทางรัสเซียเพิ่งจะออกมาขู่ว่า การดำเนินคดีกับปูตินคือการประกาศสงครามกับรัสเซีย
รายงานจาก ดมิทรี เมดเวเดฟ รองประธานสภาความมั่นคงและอดีตประธานาธิบดีรัสเซียระบุว่า การจับกุมประธานาธิบดีปูตินเป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ และหากชาติใดทำก็เท่ากับประกาศสงคราม
โดยฮังการีเป็นชาติแรก ที่ออกมาระบุว่า พวกเขาจะไม่จับกุมประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน หากผู้นำรัสเซียเดินทางเข้าฮังการี
ทั้งนี้ฮังการีถือว่าเป็นหนึ่งใน 123 ประเทศที่ให้สัตยาบันในธรรมนูญกรุงโรม นั่นหมายความว่า คำประกาศจับประธานาธิบดีปูตินที่ทาง ICC ประกาศเมื่อ
สัปดาห์ก่อนสามารถใช้ได้ในฮังการี แต่ทางฮังการีระบุว่า คำประกาศจับของ ICC ไม่มีผลในทางกฎหมายต่อฮังการี ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่เกินความคาดหมาย เนื่องจาก ICC ไม่มีอำนาจในการจับกุมบุคคลนั้นๆ ที่ทาง ICC ต้องการตัว และในเคสที่ผ่านๆ มาเป็นการอาศัยความร่วมมือจากชาติที่เป็นสมาชิก
ทั้งนี้ข้อกล่าวหาที่ทาง ICC แจ้งต่อผู้นำรัสเซียคือ ข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามจากการลักพาตัวเด็กๆ ชาวยูเครนในพื้นที่ที่รัสเซียครอบครองทางตะวันออกของยูเครน จากนั้นพาเด็กๆ เข้าไปในรัสเซียและกระจายตัวให้กับครอบครัวอุปถัมภ์
คาดกันว่าจำนวนเด็กๆ ชาวยูเครนในพื้นที่ที่รัสเซียยึดได้ที่ถูกส่งตัวไปยังรัสเซียและกระจายไปยังครอบครัวชาวรัสเซียในฐานะบุตรบุญธรรมมีอย่างน้อย 6,000 คน
โครงการดังกล่าวดำเนินการผ่านกรรมาธิการด้านสิทธิเด็กในสำนักงานของประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งทางรัสเซียระบุว่า โครงการดังกล่าวช่วยเด็กๆ ที่กำพร้าจากสงคราม ทว่าฝ่ายยูเครนระบุว่า เด็กๆ เหล่านี้ยังคงมีญาติที่ตามหาพวกเขาอยู่ในยูเครน
ล่าสุดปรากฏภาพของเด็กๆ ชาวยูเครนจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาจากพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครนได้รับความช่วยเหลือให้พบกับครอบครัวแล้ว ภาพดังกล่าวเกิดขึ้นในกรุงเคียฟ และเป็นความสำเร็จขององค์กร Save Ukraine องค์กรเอ็นจีโอที่มุ่งช่วยเหลือเด็กๆ จากการถูกเนรเทศแบบผิดกฎหมาย หนึ่งในเด็กที่ได้กลับบ้านเล่าว่า เขาถูกส่งตัวไปเข้าค่ายหลายที่รวมถึงในไครเมียด้วย
ในขณะที่หนึ่งในผู้ปกครองเล่าว่า กระบวนการส่งเด็กๆ ไปเข้าค่ายนั้นทางโรงเรียนมีส่วนร่วม อีกทั้งยังปิดบังรายละเอียดกับผู้ปกครองว่าค่ายเหล่านั้นมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร