วันนี้ (21 มี.ค. 66) ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางด้วยรถไฟไปยังกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน เพื่อเข้าพบ โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน โดยเดินทางจากสถานีรถไฟเมืองปแชมึลช์ ประเทศโปแลนด์
การเดินทางเยือนยูเครนของคิชิดะครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ สี จิ้น ผิง ประธานาธิบดีจีน เดินทางไปเยือนรัสเซียเพื่อพบปะกับ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย
ก่อนหน้านี้ นายกฯ คิชิดะ ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำในการประชุมกลุ่มผู้นำ G7 ซึ่งเป็นกลุ่ม 7 ประเทศมหาอำนาจของโลกและสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ที่รวมกลุ่มกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการเมือง การทูต เศรษฐกิจ และการทหาร ในเดือนพฤษภาคมนี้ ณ เมืองฮิโรชิมะ เพื่อหารือเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน และแสดงเจตจำนงที่ต้องการจะรักษากฎระเบียบ รวมถึงหลักนิติธรรมระหว่างประเทศ
รัสเซียรับพิจารณาข้อเสนอจีน ยุติการสู้รบยูเครน
"สี จิ้นผิง" เยือนรัสเซียกระชับสัมพันธ์ไร้ขีดจำกัด
หยามยูเครนถึงที่? ปูตินเซอร์ไพรส์เยือน “มาริอูปอล” คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
แต่ทางนายกฯ คิชิดะ เป็นผู้นำในกลุ่ม G7 เพียงรายเดียวที่ยังไม่เคยเดินทางไปเยือนยูเครนเลย ทำให้มีกระแสกดดันจากหลายฝ่ายจนเกิดการเดินทางครั้งนี้ขึ้น
กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น แถลงเกี่ยวกับการเดินทางมาเยือนยูเครนของนายกฯ คิชิดะว่า “การเดินทางเยือนยูเครนครั้งนี้ เป็นการแสดงความเคารพต่อความกล้าหาญและความอดทนของชาวยูเครนที่ยืนหยัดปกป้องบ้านเกิดของตน ภายใต้ความเป็นผู้นำอันหาญกล้าของประธานาธิบดีเซเลนสกี และเพื่อเป็นการแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการสนับสนุนยูเครนที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ในฐานะผู้นำของญี่ปุ่นและผู้นำกลุ่ม G7”
แถลงการณ์ฯ กล่าวอีกว่า “นายกฯ คิชิดะแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด ต่อการแสดงท่าทีแข็งกร้าวโดยเอาแต่ใช้กำลังและรุกรานชาติอื่นอยู่ฝ่ายเดียว นอกจากนี้ การมาเยือนครั้งนี้ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของนายกฯ คิชิดะ ว่าต้องการปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ของกฎระเบียบระหว่างประเทศอีกด้วย”
หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น ญี่ปุ่น เป็นชาติที่ประกาศเข้าร่วมกับสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป คว่ำบาตรรัสเซีย และให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรมแก่ยูเครน พร้อมบริจาคเงินให้ยูเครนกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนกว่า 2,000 คนเข้าประเทศ แม้จะมีนโยบายตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดก็ตาม จนทำให้หลายฝ่ายมองว่า การที่จีนมีท่าทีแข็งกร้าวขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากการตัดสินใจดังกล่าวของญี่ปุ่น
เรียบเรียงจาก Al Jazeera
ภาพจาก AFP